อาคารอัจฉริยะ
Central Embassy, Park Hyatt Hotel
แน่นอนว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้งานสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลง ในโลกที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน ต่างมีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ช่วยทำให้เกิดความสะดวกสบาย แต่ในความทันสมัยนี้เองก็ทำให้โลกเราใช้พลังงานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลทำให้เกิดมลพิษต่างๆมากมาย จนทำให้โลกร้อน
Bangkok's MahaNakhonSathon *New Hight Building in Bangkok
อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building)
อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High
Tech Building, High Tech RealEstate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด
คงเป็น “Intelligent
building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ
จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent”
ไม่ถึงขั้นฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่
ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย
ไม่แน่ว่าฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “GeniusArchitectural” ก็ได้
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุมอุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคารธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุมอุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคารธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง
องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (TenantsService)
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )
ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม
ปัจจุบัน
การที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารและความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทำให้ระบบนี้มีการทำงานได้เป็นอย่างดี
ทั้งการเฝ้าดูและควบคุมได้จากจุดๆเดียว
2. งานระบบอาคาร (Building
System )
แม้ว่างานระบบของอาคารอัจฉริยะจะถูกเฝ้าดูและควบคุมจากส่วนกลาง แต่ในระบบย่อยๆนั้นมักจะสามารถควบคุมการทำงานด้วยตนเองอยู่ ด้วยเสมอ
แม้ว่างานระบบของอาคารอัจฉริยะจะถูกเฝ้าดูและควบคุมจากส่วนกลาง แต่ในระบบย่อยๆนั้นมักจะสามารถควบคุมการทำงานด้วยตนเองอยู่ ด้วยเสมอ
3.
โครงสร้างอาคาร (BuildingStructure)
ในการออกแบบอาคารอัจฉริยะนอกจากการพิจารณาระบบวิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสม
ในการออกแบบอาคารอัจฉริยะนอกจากการพิจารณาระบบวิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสม
ระบบโครงสร้าง
การจัดลำดับความเป็นอาคารอัจฉริยะ
การกำหนดความฉลาดของมนุษย์นั้นเราใช้วิธีวัดเป็น ไอคิว ส่วนความฉลาด ของอาคารอัจฉริยะ นั้น เราสามารถ แบ่งระดับความฉลาด ของอาคาร ออกเป็น ห้าระดับ (Level)โดยอ้างอิงจากหนังสือ “The Intelligent Building Sourcebook” มีรายละเอียดของแต่ละระดับดังนี้
ระดับที่ 0 (Level 0)
เป็นอาคารที่ถือว่าไม่มีความฉลาดเลย ไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการใช้พลังงานและระบบลิฟต์ และอาจไม่มีระบบควบคุมความปลอดภัยอาคารระดับนี้ไม่ถือว่าเป็นอาคารอัจฉริยะ
ระดับที่ 1 (Level 1)
อาคารในระดับนี้ จะมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุม การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ ระบบลิฟต์ ระบบรักษาความปลอดภัย อาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เรียกตัวเองว่าเป็นอาคารอัจฉริยะจะอยู่ในระดับนี้
ระดับที่ 2 (Level 2)
เหมือนในระดับที่ 1 แต่เพิ่มการให้บริการส่วนกลางต่างๆ เช่น ห้องประชุม ระบบทำสำเนาเอกสารกลาง และมีบริการระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานจากส่วนกลาง
ระดับที่ 3 (Level 3)
เหมือนระดับที่ 2 แต่เพิ่มระบบสื่อสาร ระบบสื่อสารทางไกลด้านข้อมูลและเสียง และระบบโทรศัพท์ที่มีมาตรฐาน
ระดับที่ 4 (Level 4)
เหมือนระดับที่ 3 แต่เพิ่มระบบสำนักงานอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ เช่น คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ระบบสื่อสารที่ทันสมัย การประชุมทางวีดีโอทางไกล ระบบสื่อสารทางไกลความเร็วสูงที่สามารถส่งข้อมูลและเสียง ระบบอินเตอร์เน็ต
การกำหนดความฉลาดของมนุษย์นั้นเราใช้วิธีวัดเป็น ไอคิว ส่วนความฉลาด ของอาคารอัจฉริยะ นั้น เราสามารถ แบ่งระดับความฉลาด ของอาคาร ออกเป็น ห้าระดับ (Level)โดยอ้างอิงจากหนังสือ “The Intelligent Building Sourcebook” มีรายละเอียดของแต่ละระดับดังนี้
ระดับที่ 0 (Level 0)
เป็นอาคารที่ถือว่าไม่มีความฉลาดเลย ไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการใช้พลังงานและระบบลิฟต์ และอาจไม่มีระบบควบคุมความปลอดภัยอาคารระดับนี้ไม่ถือว่าเป็นอาคารอัจฉริยะ
ระดับที่ 1 (Level 1)
อาคารในระดับนี้ จะมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุม การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ ระบบลิฟต์ ระบบรักษาความปลอดภัย อาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เรียกตัวเองว่าเป็นอาคารอัจฉริยะจะอยู่ในระดับนี้
ระดับที่ 2 (Level 2)
เหมือนในระดับที่ 1 แต่เพิ่มการให้บริการส่วนกลางต่างๆ เช่น ห้องประชุม ระบบทำสำเนาเอกสารกลาง และมีบริการระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานจากส่วนกลาง
ระดับที่ 3 (Level 3)
เหมือนระดับที่ 2 แต่เพิ่มระบบสื่อสาร ระบบสื่อสารทางไกลด้านข้อมูลและเสียง และระบบโทรศัพท์ที่มีมาตรฐาน
ระดับที่ 4 (Level 4)
เหมือนระดับที่ 3 แต่เพิ่มระบบสำนักงานอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ เช่น คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ระบบสื่อสารที่ทันสมัย การประชุมทางวีดีโอทางไกล ระบบสื่อสารทางไกลความเร็วสูงที่สามารถส่งข้อมูลและเสียง ระบบอินเตอร์เน็ต
ในศตวรรษที่ 20 อาคารจะไม่สามารถสร้างได้โดยเพียงแค่เหล็กคอนกรีตและกระจก แต่ในศตวรรษที่
21
แต่ด้วยวัสดุ และเทคโนโลยีทางมัลติมีเดียต่างๆ ที่ทันสมัยมากขึ้นจึงให้เกิดไอเดียรูปแบบใหม่ของสถาปัตยกรรม - "Cybertecture"
เป็นอาคารCybertectureที่รวบรวมสถาปัตยกรรมอันเป็นสัญลักษณ์ของการออกแบบสิ่งแวดล้อมระบบควบคุมอัจฉริยะ
และวิศวกรรมวิวัฒนาการในการสร้างอาคารที่ทันสมัยที่สุดสำหรับเมืองมุมไบและประเทศอินเดียในศตวรรษที่ 21
แต่ด้วยวัสดุ และเทคโนโลยีทางมัลติมีเดียต่างๆ ที่ทันสมัยมากขึ้นจึงให้เกิดไอเดียรูปแบบใหม่ของสถาปัตยกรรม - "Cybertecture"
เป็นอาคารCybertectureที่รวบรวมสถาปัตยกรรมอันเป็นสัญลักษณ์ของการออกแบบสิ่งแวดล้อมระบบควบคุมอัจฉริยะ
และวิศวกรรมวิวัฒนาการในการสร้างอาคารที่ทันสมัยที่สุดสำหรับเมืองมุมไบและประเทศอินเดียในศตวรรษที่ 21
ปาร์คเวนเชอร์–ดิ อีโคเพล็กซ์
ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
เพราะสภาพแวดล้อมถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีความแปรปรวนในเรื่องดินฟ้า อากาศ
และเป็นสาเหตุให้เกิดภัยธรรมชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ ภาวะโลกร้อน
ซึ่งเป็นภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น
เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล
และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
ด้วยเหตุนี้หลายฝ่ายจึงได้หันมาให้ความใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนการลดมลภาวะเป็นพิษ เพื่อให้โลกถูกทำร้ายน้อยที่สุด
และเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อย่าง บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่าง ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ (Park Ventures - The Ecoplex onWitthayu) ขึ้นมา เพื่อเป็นสุดยอดโครงการระดับไฮเอนด์ ใจกลางย่านธุรกิจ
และเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อย่าง บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่าง ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ (Park Ventures - The Ecoplex onWitthayu) ขึ้นมา เพื่อเป็นสุดยอดโครงการระดับไฮเอนด์ ใจกลางย่านธุรกิจ
อรฤดี ณ ระนองประธานอำนวยการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
ผู้บริหารปาร์คเวนเชอร์ กล่าวถึง ปาร์คเวนเชอร์
ว่าเป็นโครงการแรกของไทยที่รวมไว้ทั้งอาคารสำนักงานเกรดพรีเมี่ยม และโรงแรมหรู 5
ดาวชั้นนำของโลกอย่าง โรงแรมโอกุระ ที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น
นับเป็นอาคารรูปแบบใหม่ที่ผสานนวัตกรรมการออกแบบที่ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่กับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้เช่าอาศัย
ภายใต้กระบวนการต่างๆ ที่มุ่งเน้นสู่ความเป็น LEED (The Leadership
in Energy andEnvironmental Design) ในระดับ Platinum
ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของสถาบันด้านอาคารสีเขียวของสหรัฐอเมริกาที่โด่งดังที่สุดในขณะนี้
เนื่องจากแนวความคิดโดยรวมตั้งแต่ต้น ไปจนถึงองค์ประกอบต่างๆ
ในการออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเน้นการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ามากที่สุดเป็นที่ตั้ง
เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายใต้การออกแบบอย่างยั่งยืน ที่เรียกกันว่าGreenDesign เป็นการออกแบบที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันหลายๆ โปรเจ็คต์ทั่วโลกต่างหันมาสนใจในแนวทางนี้มากขึ้น
ซึ่งเรา ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน
สำหรับโครงการนี้มีการออกแบบอันโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการประนมมือไหว้
และดอกบัว สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอันงดงาม แฝงด้วยความทันสมัยและมีระดับ
ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย
ผ่านความใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบ Eco Driven Building
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จให้กับบริษัทชั้นนำที่เช่าอาศัยภายในโครงการ
ที่สำคัญมีทางเชื่อมตรงจากสถานีรถไฟฟ้า เพลินจิต ช่วยให้การเดินทางสู่แหล่งธุรกิจสำคัญๆ
เป็นไปอย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นด้วยพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่
และสิ่งอำนวยความสะดวกเหนือระดับครบครัน
มีระบบควบคุมอาคารอัจฉริยะที่เน้นเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้เช่าอาศัย
และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพื่อรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าให้ได้มากที่สุด
ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ผสมผสานกันของบริบททางสังคม เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม
โครงการปาร์คเวนเชอร์จึงเสมือนเป็นตัวแทนของอาคารแบบ Ecoplex
ที่รวมเอาความเป็นธรรมชาติมาไว้ในการออกแบบภูมิทัศน์อย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผสมผสานกับการยกระดับพื้นที่ 25 %
ของโครงการให้เป็น พื้นที่สีเขียว
ทำให้งานแลนด์สเคปแห่งนี้กลายเป็นจุดเด่นสำคัญของโครงการ
โดยปาร์คเวนเชอร์ได้นำคอนเซ็ปต์เฉพาะแบบ urban park มาประยุกต์ใช้
เพื่อเนรมิตให้กลายเป็นแหล่งโอเอซิสใจกลางกรุง
ไม่ได้เป็นเพียงแค่สวนที่ให้ความร่มรื่นเท่านั้น
หากยังสะท้อนถึงแก่นสำคัญของการเป็นอาคารในอนาคตที่ทำหน้าที่เสมือนจุดเชื่อมโยงกับธรรมชาติอีกด้วย
ทางด้าน ธนพล ศิริธนชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการปาร์คเวนเชอร์ ได้ริเริ่มแนวคิดของการเป็นประตูต้อนรับสู่ถนนวิทยุ ซึ่งเป็นถนนสายหลักในตัวเมืองที่ยังคงรักษาความเขียวชอุ่มของต้นไม้ใหญ่บนเกาะกลางถนน และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง การจัดพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะได้ถูกนำมาประกอบตั้งแต่ต้น รวมทั้งการสร้างหลังคาเขียว (green roof) ในส่วนของหลังคาอาคารจอดรถ เพื่อลดผลกระทบจากการดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์เกาะร้อน และได้พยายามใช้ระบบการบำบัดน้ำทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยน้ำเสียลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และประหยัดน้ำประปาที่จะต้องนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ในสวน
ทางด้าน ธนพล ศิริธนชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการปาร์คเวนเชอร์ ได้ริเริ่มแนวคิดของการเป็นประตูต้อนรับสู่ถนนวิทยุ ซึ่งเป็นถนนสายหลักในตัวเมืองที่ยังคงรักษาความเขียวชอุ่มของต้นไม้ใหญ่บนเกาะกลางถนน และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง การจัดพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะได้ถูกนำมาประกอบตั้งแต่ต้น รวมทั้งการสร้างหลังคาเขียว (green roof) ในส่วนของหลังคาอาคารจอดรถ เพื่อลดผลกระทบจากการดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์เกาะร้อน และได้พยายามใช้ระบบการบำบัดน้ำทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยน้ำเสียลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และประหยัดน้ำประปาที่จะต้องนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ในสวน
จุดเด่นต่างๆ ของอาคารอัจฉริยะเพื่อการประหยัดพลังงานแห่งนี้
ยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระจกอนุรักษ์พลังงาน เป็นกระจก 3 ชั้น
ที่มีช่องอากาศอยู่ระหว่างกลาง และเคลือบสารพิเศษที่มีคุณสมบัติช่วยลดปริมาณเสียง
แสงแดด และความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร
จึงช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ,
ระบบปรับอากาศที่ออกแบบเพื่อควบคุมปริมาณลมเย็นให้พอเพียงกับความร้อนในแต่ละพื้นที่
ช่วยลดการใช้พลังงานของระบบทำความเย็นได้มากขึ้น
และทำให้ผู้อาศัยภายในอาคารรู้สึกสบายกับอุณภูมิที่คงที่ทุกพื้นที่ และ
ระบบลิฟท์อัจฉริยะ
ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดของมอเตอร์ที่มีระบบการผลิตไฟฟ้ากลับเข้าระบบอัตโนมัติ
จึงช่วยประหยัดพลังงานได้มากถึงร้อยละ 30 จากระบบปกติ
และผู้โดยสารสามารถเดินทางไปยังชั้นที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
โดยใช้เวลาในการรอลิฟท์ไม่เกิน 40 วินาที เป็นต้น
โครงการสำนักงานระดับไฮเอนด์แห่งนี้ มีความสูง 34 ชั้น
พื้นที่รวมทั้งสิ้น 81,400 ตร.ม.
แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นสามส่วนหลักๆ ได้แก่ อาคารสำนักงาน โรงแรมระดับ 5 ดาว
และร้านค้า ซึ่งจากชั้น 8-22 จะใช้เป็นพื้นที่ในส่วนของสำนักงานให้เช่าเกรดเอ รวม 27,000 ตร.ม. ส่วนชั้น 23-34 จะเป็นส่วนของโรงแรมโอกุระ จำนวน 242 ห้อง
ทั้งนี้ภายในตัวอาคารถูกออกแบบให้มีลิฟต์โดยสารอยู่ตรงกลาง
และมีเสาอยู่ด้านข้างของอาคารทั้งหมด เรียกว่าเป็น Column-free Design ซึ่งจะช่วยเพิ่มในเรื่องพื้นที่การใช้สอยให้กับอาคาร ทำให้สามารถปรับใช้พื้นที่ได้ง่ายขึ้น
จึงง่ายและสะดวกในการตกแต่งสำนักงานให้ลงตัวดั่งใจ
ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2554ซึ่งอีกไม่นานเกินรอ คนไทยจะได้เห็นภาพของถนนวิทยุที่มีสมาชิกใหม่อย่าง ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ ตั้งตระหง่านต้อนรับทักทายสวัสดีผู้มาเยือนอย่างสง่างาม พร้อมเป็นแหล่งสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ให้กับเหล่านักธุรกิจและบริษัทชั้นนำทั้งจากในและต่างประเทศต่อไป
ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2554ซึ่งอีกไม่นานเกินรอ คนไทยจะได้เห็นภาพของถนนวิทยุที่มีสมาชิกใหม่อย่าง ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ ตั้งตระหง่านต้อนรับทักทายสวัสดีผู้มาเยือนอย่างสง่างาม พร้อมเป็นแหล่งสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ให้กับเหล่านักธุรกิจและบริษัทชั้นนำทั้งจากในและต่างประเทศต่อไป
บทสรุป
ในการออกแบบอาคารทั้งหลายไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นอาคารอัจฉริยะหรือไม่ก็ตาม
สิ่งที่สถาปนิกและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องไม่ลืม
คืออาคารนั้นต้องตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้การออกแบบโดยลืมวัตถุประสงค์หลักดังกล่าว
และมุ่งเน้นการใช้แต่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
กลับกลายเป็นการสร้างความหายนะให้กับโครงการนั้นๆ มีผู้กล่าวว่า ในการเลือกใช้เทคโนโลยีใดๆให้กับอาคารอัจฉริยะ
อย่าเลือกเพียงเพราะมันเป็น”เทคโนโลยีชั้นสูง”หรือ”เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด”แต่ให้เลือกใช้”เทคโนโลยีที่เหมาะสม”กับการใช้งาน
จึงถือว่าได้ว่าเราได้ออกแบบอาคารอัจฉริยะในแนวทางที่ถูกต้อง
อ้างอิง